เทคนิคการจำข้อกำหนด ISO 9001:2015 ตอนที่ 3/3

ศ 18/03/2022 - 04:15

เทคนิคการจำข้อกำหนด ISO 9001:2015 ตอนที่ 3/3

 

มาต่อกันในส่วนของการนำไปทำตามแผนที่วางไว้ (Do) ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีข้อกำหนด ภายใต้ข้อ 8 ดังนี้ครับ

 

8.1 การดำเนินการในการวางแผนและควบคุม (Operational planning and control)
8.2 ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์และบริการ (Requirements for products and services)
8.3 การออกแบบและพัฒนาของผลิตภัณฑ์และบริการ (Design and development of products and services)
8.4 การควบคุมสินค้าและบริการที่ถูกจัดหาจากแหล่งภายนอก (Control of externally provided processes, products and services)
8.5 การจัดเตรียมผลิตภัณฑ์และบริการ (Production and service provision)
8.6 การปล่อยของผลิตภัณฑ์และบริการ (Release of products and services)
8.7 การควบคุมผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Control of nonconforming outputs)

 

ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีหลายแผนกเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก่อนจะเข้าเรื่องว่ามีแผนกไหนบ้าง ขอบอกเกร็ดความรู้เล็กน้อยนะครับ

ISO 9001 requirements

เคล็ดลับที่ควรรู้

ในข้อ 8.1 นั้นเวลาไปตรวจหลายๆ ท่านเข้าใจผิดว่าไปตรวจการวางแผนผลิต แต่ความจริงแล้วเป็นการกำหนดเกณฑ์ของการควบคุมการผลิต เช่น อุณหภูมิในการหลอมผลิตภัณฑ์, ความเร็วในการตั้งรอบของมอเตอร์สายพาน เป็นต้น และเกณฑ์การควบคุมผลิตภัณฑ์นะครับ เช่น ความกว้าง ความยาวของผลิตภัณฑ์ รวมถึงยอมรับค่าความเบี่ยงเบนได้เท่าไร (เช่น +/- 0.5 mm. เป็นต้น)

 

เพราะฉะนั้นแผนกที่เกี่ยวข้องแต่แรกก็จะมี QC และฝ่ายผลิต (แต่ถ้าเป็นบริษัทที่มีขอบข่ายการรับรองประเภทซื้อมาขายไป ก็จะเป็นฝ่ายขายที่เป็นผู้กำหนด  อาจจะอ้างอิงมาจากแคตตาล็อกสินค้าก็ได้นะครับเพราะเราซื้อของเค้ามาขายอีกทอด) แต่ถ้าบริษัทเรามีแผนกวิจัยและพัฒนาก็จะเป็นแผนกนี้แหละที่ต้องเป็นผู้กำหนดให้

ในข้อ 8.1 นั้นเวลาไปตรวจหลายๆ ท่านเข้าใจผิดว่าไปตรวจการวางแผนผลิต แต่ความจริงแล้วเป็นการกำหนดเกณฑ์ของการควบคุมการผลิต เช่น อุณหภูมิในการหลอมผลิตภัณฑ์, ความเร็วในการตั้งรอบของมอเตอร์สายพาน เป็นต้น และเกณฑ์การควบคุมผลิตภัณฑ์นะครับ เช่น ความกว้าง ความยาวของผลิตภัณฑ์ รวมถึงยอมรับค่าความเบี่ยงเบนได้เท่าไร (เช่น +/- 0.5 mm. เป็นต้น)

 

เพราะฉะนั้นแผนกที่เกี่ยวข้องแต่แรกก็จะมี QC และฝ่ายผลิต (แต่ถ้าเป็นบริษัทที่มีขอบข่ายการรับรองประเภทซื้อมาขายไป ก็จะเป็นฝ่ายขายที่เป็นผู้กำหนด  อาจจะอ้างอิงมาจากแคตตาล็อกสินค้าก็ได้นะครับเพราะเราซื้อของเค้ามาขายอีกทอด) แต่ถ้าบริษัทเรามีแผนกวิจัยและพัฒนาก็จะเป็นแผนกนี้แหละที่ต้องเป็นผู้กำหนดให้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายขาย โทร. 02 964 9918-20 ติดต่อเรา

หรือติดต่อเรา

แผนกที่เกี่ยวข้องโดยตรงถัดมาของข้อ 8.2 ก็จะเป็นของฝ่ายขายนะครับ

ส่วนข้อ 8.3 ก็จะเป็นของแผนกวิจัยและพัฒนา

ข้อ 8.4 จะเป็นของฝ่ายจัดซื้อ ข้อนี้จะพิเศษนิดนึงจะไปเกี่ยวข้องกับแผนก QC ด้วยในส่วนตรวจรับเข้าวัตถุดิบ (incoming inspection)

ถัดมาข้อ 8.5 จะเกี่ยวข้องกับฝ่ายผลิตโดยตรง แต่ก็เช่นกันก็แฝงด้วยแผนกที่ต้องดูแลเรื่อง เครื่องมือวัด (QC), สาธารณูปโภค (ซ่อมบำรุง) สุดท้ายความสามารถพนักงาน (HRD ซึ่งบางที่หลายๆบริษัทก็ให้ฝ่ายผลิตเป็นผู้อบรมเองก็ได้ ไม่ได้ผิดข้อกำหนดแต่ประการใด)

ข้อ 8.6 และ ข้อ 8.7 ข้อนี้เป็นของ QC โดยตรงเพราะเป็นการตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์และการควบคุมผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

ถัดมาในส่วนของการตรวจสอบ (Check) ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีข้อกำหนดภายใต้ข้อ 9 ดังนี้ครับ

9.1 การเฝ้าระวัง, การวัด, การวิเคราะห์ และ การประเมิน (Monitoring, measurement, analysis and evaluation)
9.2 การตรวจติดตามภายใน (Internal audit)
9.3 การทบทวนฝ่ายบริหาร (Management review)

ISO 9001 requirements

Check tips

เกือบทั้งหมดดูแลโดย QMR และ ผู้บริหารสูงสุด แต่ก็นั้นแหละข้อกำหนดมันมีความเชื่อมโยงกัน เช่นข้อ 9.1 ก็ทุกแผนกก็ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล วิธีวัด เช่น KPI เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเฝ้าระวังในการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ

มาถึงตัวสุดท้ายคือ การนำผลการตรวจสอบและวิเคราะห์ในข้อ 9 มาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีข้อกำหนดภายใต้ข้อ 10 ดังนี้ครับ

10.1 ทั่วไป (General)
10.2 ความไม่สอดคล้องและการแก้ไข (Nonconformity and corrective action)
10.3 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual improvement)

ซึ่งดูแลโดย QMR, ผู้บริหารสูงสุด และ QC (ซึ่งบางทีก็รวมถึงฝ่ายผลิตและฝ่ายขาย)

เกือบทั้งหมดดูแลโดย QMR และ ผู้บริหารสูงสุด แต่ก็นั้นแหละข้อกำหนดมันมีความเชื่อมโยงกัน เช่นข้อ 9.1 ก็ทุกแผนกก็ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล วิธีวัด เช่น KPI เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเฝ้าระวังในการผลิตและตรวจสอบคุณภาพ

มาถึงตัวสุดท้ายคือ การนำผลการตรวจสอบและวิเคราะห์ในข้อ 9 มาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีข้อกำหนดภายใต้ข้อ 10 ดังนี้ครับ

10.1 ทั่วไป (General)
10.2 ความไม่สอดคล้องและการแก้ไข (Nonconformity and corrective action)
10.3 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual improvement)

ซึ่งดูแลโดย QMR, ผู้บริหารสูงสุด และ QC (ซึ่งบางทีก็รวมถึงฝ่ายผลิตและฝ่ายขาย)

ก็จบเรื่อง วิธีจำข้อกำหนด ISO9001:2015 แต่เพียงเท่านี้ครับ ติดตามบทความดีๆ ที่จะมานำเสนออย่างต่อเนื่อง ที่เว็ปไซต์ของเรา www.socotec-certification-international.co.th

สำหรับท่านที่สนใจคอร์สอบรมกับทาง SOCOTEC สามารถติดต่อฝ่ายขายได้ที่ Tel. 02 964 9918-20

บทความโดย : คุณภัคพิสิษฐ์ พงษ์จักร (หัวหน้าผู้ตรวจประเมิน)